สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยวิชาเคมี ชีววิทยา โลกดาราศาสตร์และอวกาศ และการออกแบบและเทคโนโลยี ได้พัฒนาสื่อวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม หรือ AR(Augmented Reality) สำหรับเป็นสื่อประกอบหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ใช้เพื่อเสริมความเข้าใจในเนื้อหาที่เข้าใจได้ยาก ทำให้เรียนรู้ได้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจ ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อะตอม จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเห็นโครงสร้างอะตอมที่แสนเล็ก ให้ใหญ่ขึ้น จนเป็นโครงสร้างต่าง ๆ พร้อมแบบจำลอง ภาพอะตอมเพียง 1 ภาพจะถูกขยายให้ใหญ่จนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ ถูกจำลองมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อให้การเรียนรู้ไม่ได้จบแค่ในห้องเรียน ยังสามารถถูกขยายต่อเติมจินตนาการ เช่น การศึกษาแนวการเคลื่อนที่ของรังสีแคโทดผ่านสนามไฟฟ้า การทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกนที่ถูกอธิบายอย่างเข้าใจได้ง่าย เห็นภาพที่ชัดเจนและเป็น 3 มิติ หรือดูการนำไฟฟ้าของสารประกอบไอออนิกในสถานะต่าง ๆ
การทำงานของเซล ที่แสนละเอียดและซับซ้อน จนเข้าใจยากถูกอธิบายทีละขั้นทีละตอน จนทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นการทำงานต่าง ๆ ของเวสเซลเมมเบอร์ หรือ เซลล์คอมพาเนียน ที่ดูแต่ภาพในหนังสืออาจไม่พอ AR สามารถเปิดโลกอีกโลกที่อธิบายอย่างละเอียดทุกการทำงาน ต่อยอดความรู้ในห้องเรียนให้ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป รวมถึงการลงลึกไปเส้นทางการลำเอียงน้ำเข้าสู่ไซเล็มในรากพืชใบเลี้ยงคู่ เห็นไหมไม่ว่าเรื่องไหนที่ยาก AR สามารถอธิบายได้ให้เป็นเรื่องง่าย
เรื่องเล่าไกลตัวจะได้ใกล้ตัวเรามากขึ้น ด้วยการใช้ AR ให้เรื่องหาที่อยู่แสนไกลกลับเข้ามาใกล้ตัวเรา เพียงใช้แอปพลิเคชันสแกน ผู้เรียนสามารถดูเนื้อหา ที่ภาพอาจจะสื่อได้ไม่ชัดเจนอย่างแนวความกดอากาศของโลกใบนี้ให้โลกทั้งใบหมุนอยู่ข้างหน้าเรา และยังแสดงโลพาร์เซลล์ เฟอร์เรลเซลล์ เฮดลีย์เซลล์ ที่แสนซซับซ้อนให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น หรือกระทั่งกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทร กระแสน้ำลึก ที่หมุนเวียนอยู่ในโลกใบนี้
เทคโนโลยีที่เป็นเรื่องใกล้ตัว จะใกล้ขึ้นไปอีก สามารถอธิบายการทำงานของเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้อย่างง่ายดายด้วย AR ที่สามารถอธิบายเรื่องราว ระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ไปจนถึงผ้านาโนที่ว่าทำไมเทคโนโลยีนาโนสามารถนำมาผลิตเส้นใยเพื่อทอเป็นเสื้อผ้า และการพัฒนา ผ้าที่สามารถป้องกันการเปียกชื้น ลดรอยยับ และยับยั้งแบคทีเรีย รวมไปถึงเรื่องอนุภาคนาโนไททาเนียมไดออไซด์ที่ฟังดูยุ่งยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายขึ้น เพราะเรื่องราวเหล่านี้อยู่รอบตัวเรา