การที่เทคโนโลยีความจริงเสริม หรือ AR (Augmented Reality) มีระบบ Interactive หรือที่เรียกว่าระบบปฏิสัมพันธ์เชิงตอบโต้ เป็นเรื่องที่สำคัญหรือเรียกได้ว่าเป็นจุดขายอีกอย่างนึง ที่ทำให้ตัว AR มันดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยจะอธิบายเป็นภาพเชิงโยงเส้นได้แบบนี้ครับ
จากโครงสร้างของภาพด้านบนจะอธิบายง่าย ๆ แบบนี้ครับคือ สามารถสร้างเมนู เพื่อเชื่อมโยงไปยังวีดีโออื่นๆ ได้ หรือจะมีเมนูเพื่อคลิกแล้วไปยังเว็บไซต์ก็ได้ และยังมีเมนูเพื่อสุ่มวีดีโอได้มากกว่า 2 วีดีโอได้ โดยเป็นการสุ่มเสมอ
จากรูปแบบของผังด้านบนจะเห็นได้ว่า เราสามารถทำให้วีดีโอลำดับที่ 1 มีเมนูเพื่อเชื่อมโยงไปยังวีดีโอลำดับที่ 2, 3 และ 4 ได้ โดยในวีดีโอที่ 1 อาจจะออกแบบให้มีลักษณะของปุ่ม หรือ เมนูฝังไว้ในวีดีโอเลย หรือ จะออกแบบเป็นภาพแล้วเอามาวางในวีดีโอที่ 1 อีกทีก็ได้ (ข้อดีของการแยกวีดีโอคือ สามารถที่จะกำหนดการเข้าออก ด้วยอนิเมชัน เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานกดเมนูก่อน)
เมื่อเราคลิกเพื่อไปเล่นวีดีโอลำดับที่ 2 แล้ว เราสามารถเพิ่มเมนูเพื่อกลับมาที่ วีดีโอลำดับที่ 1 ได้ เหมือนกับการไปกลับ
วีดีโอลำดับที่ 3 สามารถที่จะเพิ่มเมนูเพื่อคลิกไปยังเว็บไซต์ได้ หรืออาจจะเป็นไมโครไซต์เพื่อแสดงโปรโมชั่นหรือรับคูปอง หรือไปที่ใด ๆ ก็ได้ที่เป็น URL
และวีดีโอลำดับที่ 4 คือจะมีเมนูเพื่อกดไปยังการสุ่มวีดีโอ โดยวีดีโอที่สุ่มได้นั้นจะมีวีดีโอทั้งหมด 4 วีดีโอ โดยระบบสุ่มของ Recall สามารถที่จะสุ่มตัวไหนก็ได้ที่เราตั้งว่าไว้ หรือใส่ไว้ในรายการ โดยยังสามารถเพิ่มลดน้ำหนักในการสุ่มออกมาได้อีกด้วย เช่น ภาพด้านล่าง
จากภาพจะเห็นว่าสามารถที่จะใส่น้ำหนักได้ไม่เท่ากัน โดยถ้าตัวไหนมีค่ามากกว่าตัวอื่น ๆ การสุ่มจะออกเป็นตัวที่มีน้ำหนักมากกว่าปล่อยครั้ง จากตัวอย่างจะเห็นว่า วีดีโอลำดับที่ 8 มีการใส่ค่าการสุ่ม เป็น 3 ซึ่งมากกว่าวีดีโอลำดับอื่น ๆ หรือถ้าเราต้องการให้สุ่มแล้วสามารถที่จะใส่ค่าเป็น 1 ได้ เพื่อให้การสุ่มมันมีค่าประมาณเท่า ๆ กัน
จากโครงสร้างทั้งหมดเราสามารถที่จะออกแบบลูกเล่นของการ Interactive ให้เป็นยังไงก็ได้ในโครงสร้างที่ Recall ลองรับ ไม่จำเป็นต้องอิงกับภาพตัวอย่างด้านบนโดยสามารถดูลูกเล่นตามภาพด้านล่างนี้
และนี้คือโครงสร้างแบบง่าย ๆ ที่เราสามารถเลือกได้ว่าอยากให้ Interactive ในระบบ AR ทำงานอย่างไร