![](https://www.myrecall.app/wp-content/uploads/2020/04/สสวท.png)
"ให้ทุกหน้ากระดาษ เต็มไปด้วยจินตนาการ"
สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้ริเริ่มการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม กับการศึกษามายาวนานมากกว่า 5 ปี เพื่อให้นักเรียน นักการศึกษา ได้เห็นเนื้อหาที่มากกว่าที่ในหนังสือมี เพราะเนื้อหาในหน้ากระดาษอาจเป็นเพียงรูปแบน ๆ เพียง 1 รูป และสื่อความหมายได้ไม่ทั้งหมด และภาพบางภาพ อาจจะสื่อสารได้ไม่เข้าใจมากนัก การใช้โมเดล 3 มิติเข้ามาอธิบาย จะทำให้ผู้เรียนได้เห็นทุกมิติ สามารถที่จะหมุนโมเดล ย่อโมเดล และขยายโมเดล เพื่อดูรายละเอียดต่าง ๆ
และด้วยนักวิชาการกำกับการผลิตทุกกระบวนการ จึงมั่นใจได้ว่าเนื้อหาที่อยู่ใน AR นั้นมีความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ และถูกต้องตามหลักวิชาการ ผู้เรียนจึงสามารถเห็นโครงสร้างต่าง ๆ ของเนื้อหา เช่น โมเดลของอะตอม ที่เป็นสามมิติ โดยอุปกรณ์การเรียนที่มีอาจจะไม่เพียงพอต่อผู้เรียน แต่ AR ทำให้สมาร์ตโฟนที่มีทุกเครื่อง สามารถเข้าถึง การดูโมเดลโครงสร้างอะตอมได้
![](https://www.myrecall.app/wp-content/uploads/2020/04/ตัวอย่าง-แอปพลิเคชัน-เทคโนโลยีความจริงเสริม-สสวท-768x273.jpg)
"เรื่องเรียนจะไม่ใช้เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป"
บทเรียนที่เคยน่าเบื่อ กับตัวหนังสือที่ไม่มีชีวิตชีวา จะกลับมาสนุกอีกครั้ง ด้วย AR เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน แล้วสแกนที่หนังสือเรียน ที่มีจุดแสดงเครื่องหมาย AR นักเรียนสามารถเห็นคำอธิบายเสริม มากกว่าในหนังสือ เห็นขั้นตอนที่ชัดเจนและละเอียด มีเสียงพากษ์ที่น่าสนใจ รวมไปถึงเรื่องราวพร้อมเสียงประกอบ ผู้เรียนจะเต็มไปด้วยจินตนาการที่มากกว่าเดิม เรื่องราวที่แสนน่าเบื่อ กลับมามีสีสันและสนุกสนานมีชีวิตชีวา
![](https://www.myrecall.app/wp-content/uploads/2020/04/ดาราศาสตร์-768x355.png)
"งานวิจัยช่วยรองรับ ว่า AR ดีจริง ๆ"
งานวิจัยที่อาจะจะฟังดูน่าเบื่อ แต่กลับมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า การใช้ AR กับการศึกษานั้นทำให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียนมากขึ้น และยังทำให้ผู้สอนไม่ต้องอธิบายเยอะ มีการทำสอบกับผู้เรียนว่าก่อนใช้ AR กับการเรียนผลการเรียนเป็นแบบนึง แต่หลังจากที่ได้ใช้ AR คู่กับการเรียนแล้ว กลับมีคะแนนการประเมินที่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
อย่างเช่น สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้ (เกวลี ผาใต้, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม2 และ อภิวัฒน์ วัฒนะสุระ, 2561) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพที่เสมือนจริงได้ จึงทาให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจการเรียน การสอนได้เพิ่มมากขึ้น ขั้นตอนการทำงาน จะมีการกำหนดจุดโดยใช้มาร์คเกอร์ออกแบบ เพื่อให้อ่านค่าได้ง่าย รวดเร็ว และสื่อความหมายให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่ายด้วยภาพที่สร้างจากโมเดลสามมิติ ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนเรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สัตว์โลกน่ารู้ อยู่ในระดับมากที่สุด
การพัฒนาสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง 2 มิติ แบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (อุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ และสรเดช ครุฑจ้อน, 2560) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟน ในรูปแบบ เทคโนโลยีความจริงเสริม โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบ KWL ในรายวิชาวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ ผลการทดสอบสรุปคะแนนคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ 12.81 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.27 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลกความจริงเสริม (Augmented Reality: AR) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (อนุมาศ แสงสว่าง และดร.เฉลิมชัย วิโรจน์วรรณ, 2560) ผู้ใช้สามารถเข้าใจการเรียนการสอนได้เพิ่มมากขึ้น เมื่อนำไปทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ผู้สอนให้ทดลองใช้งาน ผลจากการประเมินพบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อระบบจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับ ดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.06 ในส่วนของอาจารย์ผู้สอนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อระบบอยู่ในระดับ ดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.03. ดังนั้นเมื่อนาค่าที่ได้ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ผู้สอนมารวมกันแล้วสามารถสรุปผลในการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบครั้งนี้ อยู่ในระดับดีมาก
และนี้เป็นตัวอย่างงานวิจัยเพียงส่วนหนึ่งที่นำมาเป็นตัวอย่างว่า AR กับการศึกษานั้นได้ผลดีขนาดไหน เห็นแบบนี้แล้วต้องรีบใช้งาน AR กับการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาให้มากขึ้น เพื่ออนาคตของผู้เรียน
ติดต่อภาษาไทย
คุณโจ 0637896694
E-mail : joe@myrecall.app
Line : MESISE
Contact foreign languages
yim@myrecall.app
Phone +66 80 2999933